ผ้าไหมไทยกับ “ความมั่นคงของมนุษย์” ในสมัยสงครามเย็น

 

ผ้าไหมไทยกับ “ความมั่นคงของมนุษย์” ในสมัยสงครามเย็น

 

ศิบดี นพประเสริฐ

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้ศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างผ้าไหมไทยกับความมั่นคงของมนุษย์
ในสมัยสงครามเย็น และพบว่าผ้าไหมไทยมีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว แม้ว่า
ในช่วงแรกผ้าไหมไทยจะมีบทบาทในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ (state
security) อันเป็นรูปแบบความมั่นคงแบบดั้งเดิม (traditional security) ผ่านการ
เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศด้วยการเป็นวัสดุในการประดิษฐ์ฉลองพระองค์ของ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการโดยเสด็จพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป อันส่งผลให้
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโลกเสรีมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น แต่ในเวลา
ต่อมา ผ้าไหมไทยมีบทบาทส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ (human security) อันเป็น
รูปแบบหนึ่งของความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security) โดยมูลนิธิส่งเสริม
ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สนับสนุนให้ประชาชนทอผ้า
เป็นอาชีพเสริม ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถ
ปลดเปลื้องหนี้สิน เกษตรกรสามารถนำรายได้เสริมจากการทอผ้าไหมมาต่อยอดอาชีพ
เกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักพร้อมทั้งยังมีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะส่งบุตรหลานเข้าสู่ระบบการศึกษา อันเป็นการปูพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงในอนาคต นับได้ว่ามีส่วนอย่างสำคัญในการส่งเสริมสภาวะความมั่นคงของมนุษย์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนคนไทย แม้ว่าบริบททางการเมืองภายในและระหว่างประเทศในสมัยสงครามเย็นจะยังคงเน้นความมั่นคงแบบดั้งเดิมเป็นสำคัญอยู่ก็ตาม

คำสำคัญ : ผ้าไหมไทย, สงครามเย็น, ความมั่นคงของรัฐ, ความมั่นคงของมนุษย์

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) หน้า 31-63)

 

 

Thai Silk and “Human Security”
in the Cold War Period

 

Sibordee Nopprasert

 

Abstract

 

This article aims to study the relationship and important role between
Thai silk and human security. Initially, Thai silk had a role in spreading the
reputation of Thailand by being the material used to make dresses for Her
Majesty Queen Sirikit on the occasion of a state visit with His Majesty King
Bhumibol Adulyadej to the United States and Europe in 1960. Using Thai silk
for the Queen’s dresses was an important factor in making an impression on
host countries, which helped strengthen the relationship between Thailand
and Western countries in the Cold War period. However, in the 1970s, the
role of Thai silk shifted from supporting state security to supporting “human
security” by the SUPPORT Foundation, established by Queen Sirikit, to support
Thai farmers in weaving Thai silk, such as ikat silk. This became a part-time
job to earn extra income and brought about a better quality of life, although
“state security” and “traditional security” were still a major trend of security
studies in the Cold War period.

 

Keywords: Thai silk, Cold War, state security, human security

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 2 (July – December 2020) Page 31-63)

 

บทความ/ fulltext :2_Sibodee.pdf