แม่ค้าตลาดหนองมน: กระบวนการสื่อสารอัตลักษณ์ผู้สูงอายุ ผ่านการสร้างละครแบบชีวประวัติ

แม่ค้าตลาดหนองมน: กระบวนการสื่อสารอัตลักษณ์ผู้สูงอายุ ผ่านการสร้างละครแบบชีวประวัติ

 

อาทรี วณิชตระกูล

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยบนฐานปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลปะการละครที่มุ่งศึกษาอัตลักษณ์แม่ค้าสูงอายุตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กระบวนการศิลปะการละครในการรวบรวมและศึกษาเรื่องเล่าชีวประวัติของแม่ค้าสูงอายุในตลาดหนองมน ตลอดจนสร้างสรรค์ละครจากเรื่องเล่าดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้านจิตใจให้กับแม่ค้าสูงอายุในตลาดหนองมน และเพื่อให้ผู้ชมละครทั่วไปตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุในสังคม การดำเนินงานแบ่งเป็นสามส่วน ได้แก่ การเตรียมการก่อนการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ละครด้วยการสำรวจ การคัดเลือก และการสัมภาษณ์แม่ค้าสูงอายุตลาดหนองมน การปฏิบัติงานสร้างสรรค์ละครด้วยการเขียนบทละคร และการกำกับการแสดงละคร และการปฏิบัติงานหลังการจัดการแสดงละครด้วยการจัดการเสวนาหลังการแสดงละคร และการแจกแบบสอบถามแก่ผู้ชมละคร ผลของการดำเนินงานยืนยันอัตลักษณ์ของแม่ค้าสูงอายุตลาดหนองมนในฐานะที่เป็นผู้มุ่งมั่นฟันฝ่าอุปสรรคในชีวิตอย่างไม่ย่อท้อ  ทำให้สรุปได้ว่ากระบวนการศิลปะการละครสามารถช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้านจิตใจให้กับผู้สูงอายุได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้ผู้ชมละครทั่วไปตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุในสังคมได้อีกด้วย

 

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, อัตลักษณ์, ละครแบบชีวประวัติ, ตลาดหนองมน, จังหวัดชลบุรี

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) หน้า 165 – 186)

 

 

Nong Mon Market Female Vendors: Identity Communication Process of the Elderly through Biographical Play

 

Arthri Vanichtrakul

 

Abstract

 

The aim of this creative theatrical process, as practice based research, is to study the identities of elderly female vendors at Nong Mon market in Chonburi province. The objective of the research is to create a play based on the biographies of the elderly female vendors at Nong Mon market by
using the theatrical process to compile their selected stories. This will not only strengthen the spirit of the elderly female vendors at Nong Mon market, but also encourage the audience to consider the value of the elderly in society. The working processes consisted of three stages: the pre-production process – surveying, classification and interviewing the elderly female vendors at Nong Mon Market; the production process – script writing and play directing; and the post-production process – post play talk and questionnaires given to the audience. The findings reveal that the elderly female vendors at Nong Mon market are ones who have inexorably overcome obstacles of life. In conclusion, the theatrical process can shape and strengthen the spirit of the elderly, and make the audience appreciate the value of the elderly in society as well.

 

Keywords: the elderly, identity, biographical play, Nong Mon market, Chonburi province

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 2 (July – December 2020) Page 165 -186)

 

บทควบทความ/ fulltext :6_Arthri.pdf