พลวัตของเรื่องเล่าและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน ในรายการจำอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์

พลวัตของเรื่องเล่าและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน  ในรายการจำอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์

 

กมลพรรณ ดีรับรัมย์  

สารภี ขาวดี

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาพลวัตของเรื่องเล่าและ กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในรายการจำอวดหน้าจอ ช่วงฉ่อย เดอะซีรีย์ โดยเก็บ รวบรวมวิดีโอรายการจำอวดหน้าจอ ช่วงฉ่อยเดอะซีรีย์ตั้งแต่วันที่๖ มกราคม ๒๕๖๒ จนถึงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๒ รวม ๓๐ ตอน ผลการศึกษามีดังนี้วัตถุประสงค์แรก พลวัตของเรื่องเล่า แบ่งการวิเคราะห์เป็น ๒ ประเด็น ได้แก่ กลวิธีการเลือกเรื่องเล่า และกลวิธีการนำเรื่องเล่ามาปรับใช้(๑) ด้านกลวิธีการเลือกเรื่องเล่า พบว่าผู้ผลิตใช้วิธี การเลือกเรื่องมาจาก ๓ แหล่ง คือ เรื่องเล่าไทย เรื่องเล่าที่มาจากต่างประเทศ และ เรื่องเล่าที่ผูกเรื่องขึ้นจากแขกรับเชิญ เหตุการณ์ปัจจุบัน หรือแต่งขึ้นใหม่ส่วน (๒) ด้านกลวิธีการนำเรื่องเล่ามาปรับใช้พบ ๓ กลวิธีย่อย คือ การปรับเหตุการณ์ในโครงเรื่องการปรับตัวละครและการปรับชื่อเรื่องวัตถุประสงค์ที่สองกลวิธีการสร้าง อารมณ์ขันในรายการ แบ่งการวิเคราะห์เป็น ๒ ประเด็น ได้แก่ ลักษณะที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน และกลวิธีการใช้ภาษาให้เกิดอารมณ์ขัน (๑) ด้านลักษณะที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน พบ ๙ ลักษณะย่อย ได้แก่ อารมณ์ขันที่เกิดจากการล้อเลียนรูปลักษณ์ อารมณ์ขันที่เกิดจากการล้อเลียนวัยสูงอายุ อารมณ์ขันที่เกิดจากเรื่องที่มีนัยทางเพศ อารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้ความรุนแรง อารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้ความมีชื่อเสียง อารมณ์ขันที่เกิดจากการแสดงเป็นคน ๒ คน อารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้ท่าทางอารมณ์ขันที่เกิดจากการแต่งกาย และอารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์ ส่วน (๒) ด้านกลวิธีการใช้ภาษา พบ ๓ กลวิธีย่อย ได้แก่ การเล่นคำ การใช้ภาษาแสดง น้ำเสียงต่าง ๆ และการใช้คำถาม ผลจากการศึกษาทำให้เห็นว่ารายการจำอวดหน้าจอ ซึ่งอยู่ในสื่อบันเทิงประเภทโทรทัศน์มีลักษณะสอดคล้องกับวัฒนธรรมประชานิยม คือ เป็นรายการที่เน้นการผลิตเพื่อผู้บริโภคซึ่งเป็นส่วนใหญ่ในสังคม และมีการใช้สื่อเป็น ตัวกลางสำคัญในการเผยแพร่ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้รายการสามารถดำรงอยู่เพื่อ สร้างความสุขแก่ผู้ชมมาได้จวบจนทุกวันนี้นอกจากนี้รายการจำอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์ ยังเป็นพื้นที่สำคัญที่ผู้ผลิตใช้เพื่อส่งเสริมให้เพลงพื้นบ้านไทยประเภท “เพลงฉ่อย” ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน และทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ: จำอวดหน้าจอ, ฉ่อยเดอะซีรีย์, พลวัตของเรื่องเล่า, กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 87-120)

 

 

 

Dynamics of Narratives and Strategies of Humor Creation In Cham Uat Na Cho : Choi the Series

 

 

Kamonphan Deerabram

Sarapee Khowdee

 

Abstract

 

This article describes the results of a study that examined the dynamics of narratives and the strategies of humor creation in Cham Uat Na Cho: Choi the Series. The study collected data from 30 episodes aired from January6, 2019 to August 4, 2019.The findings show that interms ofnarrative dynamics, there are two issues: (1) story selection and (2) story adaptation. Story selection involves three sources: Thai stories; foreign stories; and guest-related stories that involve current events or new stories. Story adaptation includes three forms of adaptation: plot events; characters; and story names. Regarding humor creation strategies, two main strategies can be observed: (1) insertion of humorous features and (2) infusion of humorous language. The first strategy has nine features: physical appearance teasing; elderly people teasing; sexual implication; use of violence; reference to reputation; two-character acting; gestures; dressing; and the use of acting equipment. The second strategy involving language use has three features: word play; use of different voices; and use of questions. The findings indicate that the series Cham Uat Na Cho is TV media that conforms to popular culture. That is to say, this show was specially produced for specific consumers and generally recognized by most of them in society by using an important media for dissemination. As a result, Cham Uat Na Cho has brought entertainment to viewers until now. Moreover, it is an important tool that has promoted the local Thai music, “Pleng Choi”, to gain ground in mass media and to be more widely known.

 

Keywords: Cham Uat Na Cho, Choi the Series, Dynamics of Narratives, Strategies of Humor Creation

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 87-120)

 

 

บทความ/ fulltext : 3_Kanonphan (1).pdf