วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย : กรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน

วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย :  กรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน

 

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาวัจนกรรมการตอบการแสดง ความไม่พอใจในภาษาไทยกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันโดยมีคำถามการวิจัยว่า ผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาอย่างไรในวัจนกรรมการตอบการแสดงความ ไม่พอใจกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน และผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง เมื่อต้องเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมดังกล่าวในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยแบ่งเป็น ๑. แบบสอบถามแบบเติมเต็มบทสนทนาชนิด ให้เขียนตอบจำนวน ๒๐๐ คน และ ๒. การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๓๐ คน  ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีทางภาษาที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยใช้ในวัจนกรรม การตอบการแสดงความไม่พอใจกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันมีจำนวนทั้งสิ้น ๔ กลวิธีเรียงลำดับความถี่การปรากฏจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. กลวิธีทางภาษา แบบลดน้ำหนักความรุนแรง (ร้อยละ ๖๓.๕๐) ๒. กลวิธีทางภาษาแบบโน้มน้าวให้เชื่อ หรือคล้อยตาม (ร้อยละ ๒๒.๕๐) ๓. กลวิธีทางภาษาแบบสร้างและ/หรือเพิ่มความ ขัดแย้งในการสนทนา (ร้อยละ ๑๐.๐๐) และ ๔. กลวิธีทางภาษาแบบประชดประชัน (ร้อยละ ๔.๐๐)  ส่วนผลการวิจัยเรื่องปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการ เลือกใช้กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจกรณีคู่สนทนาที่มี สถานภาพเท่ากันพบจำนวนทั้งสิ้น ๓ ประการเรียงลำดับความถี่การปรากฏจากมากไป หาน้อยได้ดังนี้๑. ปัจจัยที่คำนึงถึงผู้พูดและผู้ฟัง (ร้อยละ ๖๓.๕๐) ๒. ปัจจัยที่คำนึงถึง ผู้ฟัง (ร้อยละ ๓๐.๐๐) และ๓. ปัจจัยที่คำนึงถึงผู้พูด (ร้อยละ ๖.๕๐) ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับคู่สนทนา   พฤติกรรมทางภาษาข้างต้นอาจมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม ๓ ประการ ได้แก่ ๑. การมีตัวตนแบบพึ่งพา (an interdependent view of self) ๒. ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism) และความเป็นสังคมแบบไมตรีสัมพันธ์ (affiliative society)และ ๓. แนวคิดเรื่อง “สนุก”

 

คำสำคัญ: วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจ, กลวิธีทางภาษา, วัจนปฏิบัติ ศาสตร์แนวปลดปล่อย, ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม, ภาษากับวัฒนธรรม

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564) หน้า 181-246)

 

 

 

Responding to a Complaint in Thai: A Case Study of Interlocutors with Equal Status

 

 

Sittitam Ongwuttiwat

 

 

Abstract

 

The purpose of this research article is to examine the linguistic strategies in responding to a complaint by Thai native speakers with equal status. There were research questions on how Thai native speakers adopt linguistic strategies in responding to a complaint; a case study of interlocutors with equal status; and what factors are Thai native speakers concern with when adopting linguistic strategies in responding to a complaint. The data were collected in the form of Written Discourse Completion Task (WDCT) and in-depth interviews (200 for the WDCT and 30 for the in-depth interviews).  The linguistic strategies were categorized into four groups, presented with the accompanying percentages of frequency of linguistic strategies in descending order: 1. mitigative linguistic strategies (63.50 %); 2. persuasive linguistic strategies (22.50%); 3. conflict linguistic strategies (10.00%); and 4. sarcastic linguistic strategies (4.00%).  An analysis of the motivational concerns of native speaker reveals that there are three types of motivational concerns, presented with the accompanying percentages of frequency of motivation concerns: 1) motivational concerns relating to the speaker and hearer (63.50 %); 2) motivational concerns relating to the hearer (30.00 %); and 3) motivational concerns relating to the speaker (6.50 %). It was foundthatThai speakersplace a priority on maintaining a relationship with the interlocutor. Such linguistic behavior might be motivated by three sociocultural factors: 1) aninterdependent view of self; 2) collectivism andaffiliative society; and 3) the concept of “sanuk” or fun.

 

Keywords: Responding to a complaint, Linguistic strategies, Emancipatory pragmatics, Sociocultural factors, Language and culture 

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January -June 2020) Page 181-246)

 

 

บทความ/ fulltext :6_Sittitam (2).pdf