ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

 

ภัครพล แสงเงิน  

อุเทน วงศ์สถิตย์

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร มุ่งศึกษาสารัตถะและความถี่ของเภสัชวัตถุในตำรับยากวาดคอแพทย์แผนไทย อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลกเอกสารชั้นต้นจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจำนวน ๑๘ ฉบับ โดยเอกสารฉบับที่เก่าแก่ที่สุด คือ ตำรายาวัดพรหมพิราม ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก สมุดข่อยเลขที่ พส.ข.๐๒๑๕ ระบุวันที่บันทึก คือ ๒๗ ธันวาคม ๒๔๑๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผลการศึกษาพบว่า มีตำรับยากวาดคอปรากฏทั้งสิ้น ๑๒ ฉบับ จำนวน ๘๖ ตำรับ พบสารัตถะจำแนกตามสรรพคุณได้๕ ประเภท คือ ๑. ใช้ในการรักษาโรคซาง (โรคในเด็กชนิดหนึ่ง) จำนวน ๖๔ ตำรับ (มากที่สุด) ๒. มีสรรพคุณในการรักษาไข้ต่างๆ จำนวน ๑๖ ตำรับ ๓. มีสรรพคุณในการรักษาโรคทางเดินปัสสาวะและลำไส้จำนวน ๔ ตำรับ ๔. มีสรรพคุณในการรักษาได้สารพัดโรค (ครอบจักรวาล) จำนวน ๑ ตำรับ และ ๕. ไม่ระบุสรรพคุณ จำนวน ๑ ตำรับ พบพืชวัตถุจำนวนทั้งสิ้น ๑๕๐ ชนิด โดยพบขิงมีความถี่สูงสุด พบสัตว์วัตถุจำนวนทั้งสิ้น ๔๑ ชนิด โดยพบลิ้นทะเลมีความถี่สูงสุด พบธาตุวัตถุจำนวนทั้งสิ้น ๒๓ ชนิด โดยพบน้ำประสานทองมีความถี่สูงสุดและพบน้ำกระสายยาจำนวนทั้งสิ้น ๒๒ ชนิด โดยพบน้ำสุรามีความถี่สูงสุด ตำรับยากวาดคอในตำรายาแพทย์แผนไทย อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลกจึงเป็นเครื่องมือบันทึกภูมิปัญญาการรักษาโรคสำคัญของชาวพรหมพิรามในอดีตได้อย่างดี

 

คำสำคัญ : ยากวาดคอ, ตำรายาแผนไทย, พรหมพิราม, พิษณุโลก

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2565) หน้า 29-60)

 

 

 

 

Ya Kwat Drug Remedies From Thai Traditional Medical Texts
of Phromphiram District, Phitsanulok Province

 

Phakphon Sangngern
U-tain Wongsathit

 

Abstract

 

This article aims to study methods and pharmaceutical substances found in Thai traditional ya kwat (throat swabbing) medical texts of Phromphiram District, Phitsanulok Province. The primary texts, covering 18 manuals, are from the Art and Cultural Center of Pibulsongkram Rajabhat
University. The oldest of these manuals are the pharmacopoeia texts from Phromphiram Temple, Tambon Phromphiram, Amphoe Phromphiram, PhitsanulokProvince, folding-leafbooknumber พส.ข.0215,dated27 December 1867 A.D. in the reign of King Mongkut (Rama IV).

This study discovered that the ya kwat drug remedies were found in 12 texts, covering 86 remedies. It was discovered that there are five different methodsbasedontheirproperties.The firstpropertyis to cure “sang” (one kind of pediatric disease) covering 64 remedies. The second property is to cure various illnesses covering 16 remedies. The third property is to cure urinary tract and intestines diseases covering four remedies. The fourth property is to cure a range ofdiseases covering one remedy.The fifthproperty has an unidentified cure covering one remedy.

The study found 150 plant-based substances used, with the highest frequencybeingginger (Zingiber officinale Roscoe).There were41animal-based substances used, with the highest frequency being cuttlebone. There were 23 mineral-based substances used, with the highest frequency being borax. The liquid adjuvant used in the remedies cover 22 types, with the highest
frequency being liquor. The ya kwat drug remedies from the Thai traditional medical texts of Phromphiram District, Phitsanulok Province clearly demon strate a record of wisdom of medical treatment of the Phromphiram villagers from the past.

 

Keywords: ya kwat traditional medicine, Thai traditional medical texts, Phromphiram, Phitsanulok

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 1 (January – June 2022) Page 29-60)

 

บทความ/ fulltext : 2_Phakaphon.pdf