ปริศนาธรรมจากการสร้างพระเจ้าล้านนา: รูปพุทธะ หรือ พระธัมมกาย?

ปริศนาธรรมจากการสร้างพระเจ้าล้านนา:
รูปพุทธะ หรือ พระธัมมกาย?

 

วรเมธ มลาศาสตร์

 

บทคัดย่อ

 

ปัจจุบันพระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมายด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่และความประสงค์ของผู้สร้าง กระบวนการและวิธีการสร้างสะดวก ง่าย และรวดเร็ว พระพุทธรูปหลายชิ้นถูกวางขายตามท้องตลาด จนบางครั้งปราศจากคุณค่าและความหมายทางศาสนา จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านคัมภีร์และการสัมภาษณ์เจ้าพิธีกรรมผู้เชี่ยวชาญในการสร้าง “พระเจ้า”(พระพุทธรูป) ล้านนา พบว่ากระบวนการและวิธีการสร้างพระเจ้าของชาวล้านนามีความละเอียดพิถีพิถัน แต่ละขั้นตอนแฝงไปด้วยปริศนาธรรมที่ลึกซึ้ง ผู้เขียนพบว่าพิธีกรรมโบราณระหว่างการก่อพระเจ้าล้านนาหรือ “พิธีบรรจุธัมมกายพระเจ้า” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างพระเจ้าล้านนา แต่หลายคนมองข้ามหรือไม่รู้จัก นอกจากนั้นพิธีกรรมนี้สะท้อนให้เห็นคติของชาวล้านนาที่ว่า พระพุทธรูปไม่ใช่เพียงเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้าหลังพุทธปรินิพพาน แต่คือพระพุทธองค์ที่ทรง “ธรมาน”(ทรงดำรง) อยู่ในสังสาร ปรากฏอยู่ด้วย “พระธัมมกาย” ดังนั้นบทความชิ้นนี้มุ่งเน้น
ศึกษาพิธีกรรมการสร้างและบรรจุธัมมกายพระเจ้า เพื่อหาวัตถุประสงค์และมุมมองการสร้างพระเจ้าของนักปราชญ์ล้านนา ตลอดจนไขปริศนาธรรมที่แฝงไว้ในพิธีกรรมนี้ด้วย

 

คำสำคัญ: พระพุทธรูป, ธรมาน, ธัมมกาย, ล้านนา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 57- 80 )

 

 

Dhamma Puzzles from Buddha Image Construction in Lanna: An Image of
the Buddha or Dhammakāya?

 

Woramat Malasart

 

Absract

 

Today, a number of Buddha images have been constructed with multiple purposes depending on the area and the wishes of donors.The processes and methods in the modern day are convenient, easy and fast. Some of the images are sold in markets without the element of religious meaning. According to an analysis of manuscripts and interviews, Buddha image construction in Lanna consists of elaborated rituals and detail and each procedure contains doctrinal meaning and profound Dhamma puzzles. The finding of this study reveals that the ancient ritual called “the installation of the Dhammakāya of the Buddha” has played a significant role in Lanna Buddha image construction, but has been neglected and is unknown by some
modern practitioners. This reflects the idea that a Buddha image is not perceived as “a reminder of the passing one,” but rather “the Buddha himself” who exists in the world by means of the “dhammakāya.” The research for this article aimed to study the construction and installation of the Dhammakāya in order to identify the purposes and perspectives of experts and intellectuals
in the past associated with this issue. The study also found Buddhist religious doctrines underlined the performance.

 

Keywords: Buddha image, Dharamāna, Dhammakāya, Lanna

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 57- 80 )

 

บทความ/ fulltext : 3_Woramat (1).pdf