ลงสรงนาฏดนตรี : นาฏศิลป์สร้างสรรค์ การรำลงสรงจากละครรำสู่ลิเก

ลงสรงนาฏดนตรี : นาฏศิลป์สร้างสรรค์ การรำลงสรงจากละครรำสู่ลิเก

 

กฤษณะ สายสุนีย์

เสาวณิต วิงวอน

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

 

 

บทคัดย่อ

 

 

บทความวิจัยเรืื่องลงสรงนาฏดนตรี : นาฏศิลปสร้างสรรค์รรำลงสรงจากละครรำสู่ลิเก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุดลงสรงนาฏดนตรี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ การศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแสดงลิเกทรงเครื่องแล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลนำมาสู่การสร้างสรรค์โดยเนื้อเรื่องนำมาจากวรรณกรรมเรื่องพระอภัยมณี ตอนศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก ออกแบบกระบวนท่ารำให้พระอภัยมณีรำลงสรงทรงเครื่องก่อนออกไปรบกับทัพทั้งเก้าของฝ่ายลังกา รูปแบบการแสดงเป็นลิเกทรงเครื่อง บทร้องบรรยายถึงเครื่องแต่งกายตามแบบอย่างลิเกทรงเครื่อง ขั้นตอนในการแสดงแบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ (๑) การออกสู่เวที (๒) การแนะนำตัวและบรรยายเหตุการณ์ (๓) การลงสรงทรงเครื่อง และ (๔) การรำเข้าสู่หลังเวที กระบวนท่ารำใช้หลักการผสมผสานนาฏยจารีต ๒ รูปแบบ คือ การนำกระบวนท่ารำลงสรงในการแสดงละครรำที่มีท่ารำหลัก ท่ารำขยาย ท่าเชื่อม และท่ารับ ตลอดจนการเล่นเท้ามาปรับใช้ และการสอดแทรกเอกลักษณ์ของลิเกทรงเครื่องเข้าไป ดังนั้นการแสดงชุดลงสรงนาฏดนตรีนี้ จึงมีรูปแบบการรำลงสรงของละครรำผสมผสานกับท่ารำของลิเกทรงเครื่อง การผสมผสานรูปแบบการรำดังกล่าวเป็นการสร้างสรรค์แนวใหม่ที่อาจเป็นแนวทางสำหรับการสร้างสรรค์นาฏกรรมรูปแบบอื่นต่อไป

 

คำสำคัญ: รำลงสรง, นาฏดนตรี, ลิเก, นาฏศิลป์สร้างสรรค์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2566) หน้า 1-25 )

 

 

 

Long Song Natadontree: Creative Dance of Long
Song from Thai Classical Dance-Drama to Likay

 

Kritsana Saisunee
Sauvanit Vingvorn
Anukoon Rotjanasuksomboon

 

 

Abstract

 

The idea for the research study for this article came from likay performances where the performers wear elaborate costumes mimicking the style of dance-drama. The plot is taken from the story of Phra Aphai Mani, the scene of the Battle of the Nine Armies and Phaluek City. There is a dance sequence for Phra Aphai Mani before going out to fight with the nine armies of Langka. The style of the performance is Likay Song Krueang (Thai traditional operetta with elaborate costumes). The lyrics describe the typical likay costume elements and accessories. The performance can be divided into four parts: (1) the entrance on to the stage; (2) the introduction of the character and narration of the background story; (3) bathing and donning of the costume; and (4) the dance while exiting the stage. The choreography is based on the principles of combining two forms of dance, which is the application of the bathing ritual dance sequences in a dance performance that includes the principal dance sequence (tha ram lak), the extension dance sequence (tha ram khayai), the linking dance sequence (tha cheuam) and the dance sequence suffix in music (tha rub), as well as foot work and the insertion of likay dance movements. Therefore, the performance of this grooming ritual with music and dance has the dance form of a dance-drama combined with the dance movements of likay. This is a creative style that conveys the idea of other types of creative performances.

 

Keywords: Long Song dance, Natadontree, Li-kay, Creative dance

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 19 Number 1 (June 2023) Page 1-25)

 

บทความ/ fulltext : 1_Kritsana.pdf